การแสดงเจตนาของผู้ส่งสารในประโยค



การแสดงเจตนาของผู้ส่งสารในประโยค


เราอาจแบ่งประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสารที่แสดงในประโยค ๆด้เป็น ๓ ประเภทคือ

     ๑.ประโยคแจ้งให้ทราบ คือประโยคที่ผู้พูดบอกกล่าวหรือแจ้งเรื่องราวบางประการให้ผู้ฟังทราบ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประโยคบอกเล่า เช่น

นักเรียนบางคนชอบร้องเพลง 

ถ้าประโยคแจ้งให้ทราบ มีเนื้อความปฏิเสธ ก็จะมีคำปฏิเสธ เช่น ไม่ มิ หามิได้ อยู่ด้วยดังประโยค

นักเรียนบางคนไม่ชอบร้องเพลง 


     ๒.ประโยคถามให้ตอบ คือ ประโยคที่ผู้พูดใช้ถามเรื่องราวบางประการเพื่อให้ผู้ฟังตอบสิ่งที่ผู้พูดอยากรู้ หรือเรียกอีกอย่างว่าประโยคคำถาม ถ้าประโยคคำถามมีเนื้อความปฏิเสธ ก็จะมีคำปฏิเสธอยู่ด้วยเช่น

ใครอยากไปเที่ยวบ้าง 

เนื้อความปฏิเสธ ใครไม่อยากไปเที่ยวบ้าง


     ๓.ประโยคบอกให้ทำ คือ ประโยคที่ผู้พูดใช้เพื่อให้ผู้ฟังกระทำอาการบางอย่างตามความต้องการของผู้พูด เรียกว่าประโยคบอกให้ทำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประโยคคำสั่งหรือขอร้อง ประธานของประโยคบอกให้ทำบางทีก็ไม่ปรากฏประธาน ถ้าผู้พูดต้องการเน้นคำกริยา และท้ายประโยคบอกให้ทำมักจะมีคำอนุภาค เช่น ซิ นะ เถอะ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น